วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2554

น้ำยาเอนกประสงค์

นํ้ายาเอนกประสงค์

รูปภาพของ นาย
Tags:
วันนี้ก็ได้เวลาทำนํ้ายาต่างๆแล้วค่ะ  (เพราะว่าที่บ้านหมด) อย่างแรกที่นายจะทำนายจะทำนํ้ายาเอนกประสงค์ก่อนค่ะ  มาดูกันนะค่ะจะได้ประหยัดรายจ่ายกันค่ะ
เตรียมนํ้าด่าง หรือนํ้าเปล่า 5 ลิตร เกลือ 1 กิโล N 70 1 กิโล

นำเกลือ 1 กิโล ใส่ลงไปในนํ้า  5 ลิตร

คนให้เกลือละลาย และทิ้งไว้ให้ตกตะกอน

แล้วนำ N70 เทใส่ลงไปในถัง

แล้วคนไปทางเดียวกันให้ N 70กลายเป็นสีขาว

หลังจากนั้นให้เอานํ้าด่างที่ผสมเกลือ ตักมาใส่ก่อน 1 แก้ว

แล้วคนให้เข้ากัน

พอคนเข้ากันแล้วก็ทยอยใส่นํ้าด่างจนกว่านํ้าด่าง 5 ลิตรหมดและแล้วก็จะได้นํ้ายาเอนกประสงค์ ที่เก็บได้นาน ถึง 1 ปี โดยที่ไม่ต้องใส่สารกันบูด
 
ทีนี้เราจะมาทำนํ้ายาล้างจานกัน

นำมะกรูดมาผ่าครึ่ง

แล้วนำไปต้มให้เดือดแล้วพักให้เย็น  แล้วก็บีบแล้วนำไปกรอง

หลังจากนั้นก็ทำนํ้ายาล้างจานด้วยอัตราส่วน  1:1
นํ้ายาเอนกประสงค์ 1 ส่วน
นํ้ามะกรูด           1 ส่วน
แล้วคนให้เข้ากัน พร้อมใช้ได้เลยค่ะ

ส่วนอันนี้เป็นนํ้ายาซักผ้า

นําเปลือกสับปะรดไปต้มให้เดือดแล้วพักให้เย็นแล้วนำไปกรอง

หลังจากนั้นก็ทำนํ้ายาซักผ้าด้วยอัดตราส่วน 1:1
นํ้ายาเอนกประสงค์  1  ส่วน
นํ้าสับปะรด          1  ส่วน
แล้วคนให้เข้ากันพร้อมใช้ได้เลยค่ะ


ทั้งนํ้ายาล้างจานและนํ้ายาซักผ้านายไม่ใส่สารกันบูดและไม่ใส่สารเคมี เพราะฉะนั้นสบายใจได้เลยว่าไม่มีาสารเคมีตกค้่างแน่นอนค่ะ
ส่วน​ผสม
  • N70 (หัวแชมพู)                     1     ​กิ​โลกรัม
  • F24 (สารขจัดคราบไขมัน)      1/2  ​กิ​โลกรัม
  • เกลือ​                                    1-1.5 ​กิ​โลกรัม
วิธีทำ
  1. ต้มเกลือ​โดย​ใช้​น้ำ​ 2-3 ​ลิตร​ ​จนเกลือละลายหมด​ ​ตั้ง​ไว้​จนเย็น
  2. เอา​ N 7O ​ผสม​กับ​ F 24 ​กวน​ให้​เข้า​กัน​ ​ราว​ 10 ​นาที
  3. ค่อยๆ​เทน้ำ​เกลือลงไปทีละน้อยๆ​ ​แล้ว​กวน​ให้​เข้า​กัน​ ​จนหมด
  4. หลัง​จาก​นั้น​ ​เติมน้ำ​ลงไป​และ​กวนเรื่อยๆ​ ​โดย​ใช้​น้ำ​ประมาณ​ 10-15 ​ลิตร​ ​ทั้ง​นี้​ให้​สังเกตว่า​ ​ความ​ข้นของน้ำ​ยาอเนกประสงค์​ ​หาก​ยัง​ข้น​หรือ​เหนียวมาก​ ​ก็​สามารถ​เติมน้ำ​เปล่า​ ​ลงไป​ได้​อีก​ ​จนเห็นว่า​ ​ได้​ความ​ข้นที่​เหมาะสม
  5. ใส่​หัวน้ำ​หอม​ ​กวน​ให้​เข้า​กัน​ ​แล้ว​ตั้งทิ้ง​ไว้​จนฟองยุบ​(1 ​คืน) ​แล้ว​ตัก​ใส่​ขวดเอา​ไว้​ใช้
นอก​จาก​นี้​ ​อาจ​จะ​ใช้​น้ำ​ผลไม้​เปรี้ยว​ ​หรือ​น้ำ​หมัก​จาก​ผลไม้​เปรี้ยวทดแทนน้ำ​ได้​บ้าง​    ำยาซักผ้า ล้างจาน ล้างรถ สูตรชีวภาพ ผลิตภัณฑ์คุณภาพดี ราคาถูกมากๆ
        คุณ
เคยคำนวณบ้างหรือไม่ว่าในแต่ละเดือนครอบครัวของเราจ่ายเงินไปเท่าไรในการซื้อผงซักฟอก น้ำยาซักผ้า น้ำยาล้างจาน น้ำยาล้างรถ หรือน้ำยาทำความสะอาดสารพัดล้าง แล้วสินค้าที่เราซื้อมาใช้นั้นดีจริงอย่างที่เขาโฆษณาหรือเปล่า วันนี้เรามาลองใช้ภูมิปัญญาเพื่อพึ่งพาตนเองกันเถอะ มาทำผลิตภัณฑ์ดีๆ ราคาถูกมากๆใช้เองดีกว่า จะขอเรียกเจ้าสิ่งนี้ว่า "น้ำยาอเนกประสงค์ สูตร 2 พลัง" ซึ่งใช้ซักล้างได้สารพัด ทั้งซักผ้า ล้างจาน ล้างรถ ทำความสะอาดพื้น ล้างคราบสกปรก และมีพลังขจัดคราบมากเป็น 2 เท่า คือ ทั้งจากสารขจัดคราบ และ จากกรดในน้ำหมักชีวภาพสูตรผลไม้
  ส่วนผสม    1. EMAL 270 TH หรือ N 70 (หัวแชมพู)                           1     กก.
                  2. EMAL 10 P (ผงฟอง)                                           200    กรัม
                  3. Sodium chloride (ผงข้น)                                      500     กรัม
                  4. น้ำสะอาด                                                       10-11    กก.
                  5. NEOPELEX  F 50(สารขจัดคราบชนิดเข้มข้น)          500-700    กรัม
                      (ถ้าใช้สารขจัดคราบชนิดธรรมดา NEOPELEX  F 24 ใช้        1    กก.)
                  6.น้ำหมักชีวภาพ(สูตรเนื้อมะกรูด)                                        2    กก.
                     (หรือจะใช้น้ำหมักชีวภาพที่หมักจากผลไม้รสเปรี้ยวชนิดอื่นๆที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นทดแทนกันได้ เช่น สับปะรด มะเฟือง มะนาว ฯลฯ ดูข้อมูลการทำน้ำหมักชีวภาพเพิ่มเติมได้ในเรื่องผลไม้ลดโลกร้อน)
                  7.น้ำหอมกลิ่นตามชอบ(จะไม่ใส่เลยก็ได้)   


         วิธีทำ  
            1. ใส่หัวแชมพู ผงฟอง และผงข้นลงในภาชนะ(ควรเทผงฟองต่ำๆเบา ๆ เพราะจะฟุ้ง และสูตรที่ให้นี้จะได้น้ำยาปริมาณมากถึง 15 ลิตร ควรใช้ถังพลาสติกก้นเรียบใบใหญ่ๆในการผสม) 
            2. ใช้พายคนส่วนผสมทั้ง 3 อย่าง ให้เข้ากันให้มากที่สุด(ประมาณ 5 นาที ส่วนผสมจะเป็นครีมขาว ข้น ฟู คล้ายๆกับครีมแต่งหน้าขนมเค้ก) แต่อาจยังมีเสียงดังแกรก ๆ เหมือนมีเม็ดทรายอยู่เล็กน้อย
            3. ค่อยๆเติมน้ำสะอาดทีละน้อยๆพร้อมกับคนส่วนผสมให้ละลายเข้ากันไปเรื่อยๆ (ถ้าใส่น้ำครั้งเดียวหมด ส่วนผสมจะเป็นก้อน คนให้ละลายเข้ากันได้ยากมาก)            
            4. เมื่อใส่น้ำจนครบตามจำนวนจึงใส่สารขจัดคราบแล้วคนส่วนผสมให้เข้ากัน  
            5. ใส่น้ำหมักชีวภาพ แล้วคนส่วนผสมให้เข้ากัน(ถ้าใช้น้ำหมักชีวภาพที่หมักจากผลไม้ นาน 3 เดือนขึ้นไป
เมื่อผสมแล้วจะเก็บน้ำยาได้นานเป็นปี โดยไม่เสียง่าย)
               
ถ้าไม่มีน้ำหมักชีวภาพมะกรูดที่หมักจนได้ที่แล้ว แต่ต้องการรีบใช้น้ำยา จะใช้น้ำมะกรูดต้มแทนก็ได้  
ทำโดยหั่นผลมะกรูดตามขวางลูก ผสมกับน้ำสะอาดหรือน้ำซาวข้าวให้ท่วมเนื้อมะกรูด นำไปต้มจนเนื้อมะกรูดเปื่อยดี
แล้วจึงกรองเอาเฉพาะน้ำมาใช้ แต่การใช้น้ำมะกรูดต้มนี้ เมื่อผสมเป็นน้ำยาแล้ว จะเก็บได้นานประมาณ  1 เดือนเท่านั้น ถ้าเกินกว่านี้ น้ำยาจะมีกลิ่นคล้ายน้ำดองผักหรือผลไม้ ไม่น่าใช้ 

            6.ใส่น้ำหอม คนส่วนผสมให้เข้ากันดี(จะไม่ใส่น้ำหอมเลยก็ได้ ถ้าใช้เป็นน้ำยาล้างจานไม่ควรใส่
น้ำหอมเลย)
            7.ตั้งทิ้งไว้ให้ฟองยุบตัว(1 คืน)จึงกรอกใสภาชนะเก็บไว้ใช้


การทำน้ำยาอเนกประสงค์ชีวภาพอัญชัน

การทำน้ำยาอเนกประสงค์ชีวภาพอัญชัน
ใช้ซักผ้า-ล้างจาน-อาบ-ล้างหน้าวันก่อนน้ำยาซักผ้าหมดพอดี จึงได้ทำใหม่ สูตรนี้เราทำแบบพอเพียงคือค่าใช้จ่ายน้อย ไม่เกิน 100 บาท ทำได้ประมาณ 8-10 ลิตรสามารถนำไปใช้ล้างจาน ซักผ้า ล้างหน้า หรืออาบน้ำ ได้ ประหยัดได้หลายทาง แต่ขอบอกก่อนว่าสูตรนี้ไม่มีกลิ่นน้ำหอมเนื่องจากเราเน้นเรื่องความพอเพียง
และหลีกเลี่ยงสารเคมีที่ไม่จำเป็น ลองคำนวณการลดค่าใช้จ่ายดูเช่น

1. ไม่ต้องจ่ายค่าน้ำยาล้างจาน
2. ไม่ต้องจ่ายค่าสบู่อาบน้ำ (ใช้แล้วผิวนุ่มกว่าใช้สบู่)
3. ลดการจ่ายค่าน้ำยาซักผ้าเดือนละ 300 บาท เหลือเพียง 100 บาท
ได้น้ำยาประมาณ 12 ลิตร รวมแล้วต่อเดือนเราจะประหยัดเงินได้เกือบ 400 บาทเชียวนะ
ส่วนผสมคือ1. ตัวน้ำยาซักผ้าหรือซักล้างใช้สาร N 70 ราคากิโลกรัมละ 70-80 บาท
2. เกลือเพื่อใช้ปรับความหนืดความข้น ความเหลวของน้ำยาประมาณ 1 ก.ก. (12 บาท)

3. น้ำชีวภาพอัญชันที่เราหมักได้จากการแนะนำคราวที่แล้ว สามารถทำลายเชื้อแบคทีเรีย และให้สีสวย โดยไม่จำเป็นต้องใช้สารกันบูด ประมาณ 1 แก้ว (ขวดน้ำผลไม้ 250 มล.) 4. น้ำเปล่า 8-10 ลิตร
ขั้นตอนการทำ1. เตรียมส่วนผสมทั้ง 4 อย่าง
2. เท N 70 ใส่ลงในถังใช้ไม้พายคนเบาๆไปทางเดียวกัน ให้ขึ้นขาวฟู ถ้าหนืดเกินไป รู้สึกหนักมือให้ค่อยๆโรยเกลือลงไป (หรืออาจผสมน้ำเกลือใช้แทนได้)
3. จากนั้นค่อยๆใส่น้ำชีวภาพอัญชันเพื่อให้มีสีสวยงาม
4. ทีนี้ก็ทำสลับกันเรื่อย ถ้าหนืดเหนียวให้เติมเกลือ แล้วเติมน้ำ ถ้าเหลวไปจากการเติมน้ำมากก็เติมเกลือ จะทำให้หนืดข้นเช่นเดิม ทำเช่นนี้ไปเรื่อยจนส่วนผสมที่เตรียมไว้หมด
สุดท้ายตรวจดูความเหลวตรงความพอใจของเรา ทิ้งไว้ 1 คืนอาจทำให้หนืดขึ้นอีกเล็กน้อย ทิ้งไว้ให้ฟองยุบตัว รุ่งเช้าน้ำยาเอนกประสงค์ที่ได้ จะใสและไม่มีฟอง จากนั้นให้เรากรอกใส่ภาชนะที่ต้องการเก็บไว้ใช้ เราจะได้น้ำยาสีสวย สีม่วง-อมชมพู
จากการใช้มาอย่างต่อเนื่อง น้ำยาอเนกประสงค์อัญชันจะมีการเปลี่ยนสีเนื่องจากเราไม่ใส่ผงสีในขั้นตอนการทำ
ดังนั้นสีจึงซีดง่ายกลายเป็นสีขาว
วิธีการแก้ไข : ผู้เขียนเติมหัวเชื้อชีวภาพอัญชันที่หมักไว้ลงไป 1 หยดหรือมากกว่า แล้วแต่ชอบ เขย่าให้เข้ากัน ก็ได้สีสวยดังเดิม

สรุปเปรียบเทียบ - จากการใช้ได้เห็นความแตกต่างคือ
- หากลืมตากผ้าในทันที ทิ้งไว้หลายชั่วโมง ผ้าก็ไม่เหม็นทั้งนี้เนื่องจากน้ำชีวภาพอัญชัน
มีสรรพคุณดับกลิ่น กำจัดแบคทีเรีย/จุลินทรีย์ตัวร้าย
- เมื่อใช้ล้างจาน มือจะไม่ลอกเป็นขุยเหมือนใช้น้ำยาล้างจานตามท้องตลาด เนื่องจากเราไม่ใช้สารขจัดคราบ หากในบางจุดของภาชนะยังมี
ความมันอยู่ ให้เทน้ำยาชีวภาพอัญชันลงไป แล้วล้างเฉพาะที่ ล้างทำความสะอาดอีกครั้ง จะพบว่าขจัดความมันได้ดี

วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ไผ่ๆๆ

ไผ่ตง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dendrocalamus asper Back. มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศอินเดียและจีน เป็นไผ่ที่มีขนาดใหญ่ สูงราว 25 เมตร ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6-12 ซม. ไม่มีหนาม ปล้องยาวประมาณ 20-30 ซม. บริเวณโคนลำต้นมีลายขาวสลับเทา และมีขนาดเล็กๆ อยู่ทั่วไปของลำ หน่อมีน้ำหนักประมาณ 3-10 กก.

ไผ่เป๊าะ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dendrocalamus giganteus Munro มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศพม่า ต่างประเทศเรียกกันว่า Giant Bambo หรือไผ่ยักษ์ เพราะสูงราว 30 เมตร ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20-35 ซม. ปล้องยาวประมาณ 30 ซม. ข้อเรียบ เนื้อแข็ง เปราะ หน่อมีขนาดโตพอๆ กับลำ โดยมีสีขาวปนเหลือง

Image

ไผ่ทั้งสองชนิดนี้มักพบขึ้นอยู่ในป่าดิบ โดยขึ้นรวมกับไม้ยืนต้นขนาดใหญ่หลายชนิด เมื่อขึ้นในที่หุบหรือที่ร่องน้ำ ไม้ไผ่เหล่านี้จะสามารถผลิตหน่อและลำขนาดใหญ่และสมบูรณ์เต็มที่

อย่างไรก็ตาม ในที่นี้มิอาจชี้ชัดลงไปได้ว่าไผ่ชนิดใดเป็นต้นไผ่ใหญ่ อันเป็นโพธิญาณพฤกษาแห่งองค์พระสุชาตพุทธเจ้า เป็นเพียงการนำเสนอข้อมูลเพื่อพินิจพิจารณากันต่อไป

สำหรับลักษณะโดยรวมของต้นไผ่โดยทั่วไปนั้น เป็นไม้พุ่ม ขึ้นเป็นกอ ลำต้นเป็นปล้องๆ ดอกไผ่มีลักษณะเป็นช่อ ซึ่งไม้ไผ่แต่ละชนิดมีการพัฒนาลักษณะของช่อดอกแตกต่างกันออกไป การออกดอกของไม้ไผ่ เรียกกันว่า “ไผ่ตายขุย” เป็นการพัฒนาขั้นสุดท้ายของไม้ไผ่ที่นำไปสู่การผลิตเมล็ด (fruiting) ก่อนที่ไม้ไผ่ต้นนั้นจะตาย เมล็ดของไม้ไผ่ซึ่งที่จริง คือ ผล (fruit) แต่ด้วยลักษณะของเมล็ดที่คล้ายกับเมล็ดข้าวหรือผลของข้าว จึงนิยมเรียกว่า “เมล็ด” ความสามารถในการผลิตเมล็ดของไม้ไผ่แต่ละชนิดจะขึ้นอยู่กับประเภท และลักษณะของการออกดอกของไม้ไผ่

ต้นไผ่เป็นพืชที่มีการใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง ทั้งบริโภค ทั้งเป็นวัตถุดิบเพื่อการอุตสาหกรรม เช่น ทำเยื่อกระดาษ ทำเครื่องจักสาน ทั้งใช้ในการก่อสร้างที่อยู่อาศัย และเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ เป็นต้น

Image




ไม้ไผ่กับวัฒนธรรม
 
           คนไทยมีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย รักธรรมชาติ ยิ้มแย้มแจ่มใสใจดี รักศิลปะ เสียงเพลงและดนตรี มีนิสัยอ่อนโยนอ่อนน้อมถ่อมตนและสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดีมีภูมิปัญญาสามารถนำสิ่งที่ใกล้มือในท้องถิ่นมาประดิษฐ์เป็นเครื่องมือใช้สอยในชีวิตประจำวันได้อย่างสวยงามโดยเฉพาะไม้ไผ่ เป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์โดยตรงหรือแปรรูปให้เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการดำรงชีวิต คนไทยรู้จักคุ้นเคยและมีความผูกพันอย่างชนิดแยกไม่ออกมาตั้งแต่เกิดจนตาย กลายเป็นวัฒนธรรมสืบทอดกันต่อมา    "ไผ่" เป็นชื่อพันธุ์ไม้พวกหนึ่ง พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ กล่าวว่า ไผ่เป็นชื่อพรรณไม้พวกหนึ่ง ( Bambusa spp.) อยู่ในวงศ์ Graminese เป็นกอ ลำต้นสูง และเป็นปล้องๆ มีหลายชนิดมากกว่า ๑,๒๕๐ ขนิด ๕๐ ตระกูล เช่น ไผ่จีน ไผ่ป่า ไผ่สีสุก ไผ่เลี้ยง ไผ่ดำ เป็นต้น ไม้ไผ่เป็นพันธุ์ไม้ที่มีลักษณะเฉพาะที่แปลกไปจากพืชและพันธุ์ไม้อื่นๆ เพราะแม้ว่าไผ่มีลักษณะที่ควรจะเป็นต้นไม้ แต่ไผ่กลับถูกจัดเป็นหญ้าประเภทหนึ่ง และเป็น "หญ้ายักษ์" เพราะลำต้นสูง กลวงเป็นปล้องๆ หากสังเกตให้ดีจะเห็นว่าใบไผ่คล้ายกับใบหญ้า ไผ่ขยายพันธุ์ด้วยการแตกหน่อ เพราะหนึ่งในร้อยปีไผ่จึงอาจจะออกดอกสักครั้ง และหลังจากออกดอกแล้วก็ตาย ไผ่จะเติบโตอย่างรวดเร็วและจะโตเต็มที่ภายในสองเดือน และจะคงขนาดเช่นนั้นไปตลอดชีวิตของมัน ลำต้นของไผ่จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ ๐.๗ - ๗ นิ้ว สูง ๑ - ๖๐ ฟุต ไผ่ขึ้นได้ทั้งในบริเวณที่มีอากาศอบอุ่นและอากาศเย็นต่ำกว่าศูนย์องศา ไผ่จึงเป็นไม้ที่มีมากในบริเวณเอเซียและแปซิฟิค อเมริกาใต้บางท้องถิ่น
คุณลักษณะพิเศษของ "ไผ่"
           ๑.ไผ่โตเร็วสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ภายในเวลา ๑ - ๔ ปี และใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตั้งแต่รากไผ่เป็นสมุนไพรอย่างหนึ่งที่ใช้เป็นยารักษาโรคได้ หนิอไผ่หรือหน่อไม้ใช้ทำอาหาร กาบหรือใบไผ่ใช้ห่ออาหารหรือหมักปุ๋ย กิ่งและแขนงใช้ทำรั้ว ลำต้นใช้ประโยชน์ได้สารพัดอย่าง ตั้งแต่นำมาใช้ปลูกสร้างที่พักอาศัยและแปรรูปเป็นเครื่องจักสานและเครื่องมือเครื่องใช้นานาชนิดจนถึงนำมาใช้เกี่ยวกับความเชื่อและพิธีกรรมต่างๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย
           คังนั้นชาวนาจึงมักปลูกไผ่ตามหัวไร่ปลายนา และปลูกไว้รอบๆบ้าน เพื่อใช้เป็นรั้วบ้านและป้องกันพายุ เพราะไม้ไผ่จะลู่ตามลมไม่หักโค่นเหมือนไม้อื่น หากปลูกไผ่ไว้ตามริมแม่น้ำลำคลอง จะช่วยชะลอความเร็วของกระแสน้ำไม่ให้ดินพัวทะลายง่าย นอกจากนี้ไผ่ยังใช้เป็นอาหารในครัวเรือนได้ด้วย


เปลสานสำหรับเด็กอ่อน

ขลุ่ยญี่ปุ่น
           ๒. ไผ่มีลำต้นตรงและกลวงคล้ายหลอดและมีปล้องข้อคั่นเป็นปล้องๆ จึงใช้เป็นภาชนะประเภทกระบอก ถ้วย สำหรับใส่ของเหลว เช่นใช้เป็นกระบอกน้ำ กระบอกน้ำตาล ซึ่งใช้กันทั่วไปในหลายประเทศ ลักษณะพิเศษของไม้ไผ่นี้สามารถนำมาใช้สร้างอาคารที่พักอาศัยได้ โดยนำมาทำเป็นโครงสร้างของบ้านเรือน ใช้เป็นพื้นเรือน ฝาเรือน ใช้ทำรางน้ำ ท่อน้ำ และทำเครื่องดนตรีประเภทขลุ่ยได้ดีอีกด้วย

ปลอกมีดเขียนลวดลาย


หวี
           ๓. เนื้อไผ่เป็นเส้นตรงมีความยืดหยุ่นในตัวเองและสามารถคินตัวสู่สภาพเดิมได้ เมื่อนำไม้ไผ่มาแปรรูปก็จะสามารถใช้ประโยชน์ได้ดี เพราะเนื้อไม้ไผ่เป็นเส้นตรง นำมาจักเป็นปื้นบางๆ หรือเหลาเป็นเส้นได้ดี จึงใช้ทำเครื่องจักสานนานาชนิดได้ ทั้งเครื่องจักสานที่มีขนาดใหญ่ แข็งแรงมั่นคง สำหรับใช้งานหนักจนถึงเครื่องจักสานขนาดเล็กที่มีความปราณีตบอบบาง และเพราะคุณสมบัติในที่มีความยืดหยุ่น จึงเหมาะที่จะใช้เป็นเครื่องหาบหรือหาม เช่น คาน คันกระสุน คันธนูและเมื่อแปรรูปเป็นตอกก็ยังมีความยืดหยุ่นคืนรูปทรงเดิมได้ง่ายจึงทำให้ภาชนะจักสานที่ทำจากไผ่มีคุณลักษณะพิเศษต่างไปจากภาชนะที่ทำจากวัตถุดิบชนิดอื่น
           ๔. ไม้ไผ่มีความสวยงามในตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นผิวที่มีสีต่างๆ กันเมื่อแห้งแล้วมักจะมีสีเหลืองอยู่เช่นนั้นตลอดไป ด้วยคุณสมบัติพิเศษนี้ ชาวเอเซียจึงใช้เหล็กหรือโลหะเผาไฟจนร้อนแล้วเขียนตัวอักษรหรือลวดลายลงบนผิวไม้ไผ่ ( Bamboo Pyrographic ) เช่นจีนจารึกบทกวีบนผิวไม้ไผ่ ชาวญี่ปุ่นใช้เขียนชื่อเจ้าของบ้านแขวนไว้หน้าบ้านและจารึกบทกวีแขวนไว้สองข้างประตูเรือนน้ำชา ( Tea House ) ชาวเกาหลีใช้เขียนเป็นลวดลายบนเครื่องใช้ เช่นเดียวกับที่ชาวบาตัก ( Batak) ในประเทศอินโดนีเซีย ใช้เหล็กเผาไฟ ขูด ขีด เขียน ลงบนกระบอกไม้ไผ่ สำหรับเก็บยาหรือทำเป็นปฏิทิน ในขณะที่ชาวบาหลีใช้จารลงบนผิวไผ่เป็นแผ่นๆ เพื่อใช้เป็นคัมภีร์ในศาสนาตน นอกจากไม้ไผ่จะมีผิวสวยแล้ว เนื้อไผ่ยังมีลักษณะพิเศษต่างจากเนื้อไม้อื่นคือ มีเสี้ยนยาวขนานกันเป็นเส้น จึงแปรรูปเป็นเส้น เป็นปื้น หรือเหลาให้กลมได้ง่าย และเมื่อแก่เต็มที่แล้วจะเป็นเส้นละเอียดแข็ง มอดแมลงไม่กินจนมีผู้กล่าวว่า เครื่องจักสานไม้ไผ่นั้น ผู้สานสามารถสานให้เป็นรูปทรงแปลกๆ แตกต่างกันได้มากมาย จนเครื่องจักสานบางชิ้นมีรูปทรงและผิวสวยงามดุจงานประติมากรรมสมัยใหม่ทีเดียว


งานศิลปหัตถกรรมจากไม้ไผ่ของมูลนิธิศิลปาชีพ
ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ



ไผ่

เรื่องไผ่ๆ



ชื่อวิทยาศาสตร์:  Bambusa ventricosa   McClure
ชื่อวงศ์:  GRAMINEAE
ชื่อสามัญ:  Buddha s Belly bamboo, Phai namtao
ลักษณะทั่วไป:    ต้น  
ลำต้นอยู่เหนือดินตั้งตรงเอง ผิวเรียบ เห็นข้อปล้องชัดเจน ต้นอ่อนสีเขียวอ่อน ต้นแก่สีเขียวอมเหลือง
    ใบ 
 เป็นใบประกอบแบบขนนก ใบด้านบนมีลักษณะมันเรียบ ส่วนด้านท้องใบมีลักษณะหยาบ ขอบใบมีความคม ใบแก่สีเขียวเข้มเรียวแหลม
การดูแลรักษา:  ชอบแสงแดดจัด ต้องการน้ำพอสมควร เจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด
การขยายพันธุ์:  การแตกหน่อ หรือ แยกกอ
การใช้ประโยชน์:
    -    ไม้ประดับ
    -    ทำเป็นของชำร่วยได้ เช่น ทำแจกัน
    -    บริโภค
    -    สมุนไพร
ถิ่นกำเนิด:  ประเทศจีน
ส่วนที่ใช้บริโภค:  หน่อสามารถนำมาทำอาหารรับประทานได้
สรรพคุณทางยา:
    -    ใบ นำมาปรุงเป็นยาขับฟอกโลหิตระดูที่เสีย
    -    ตาไม้ไผ่ สุมไฟเอาถ่าน ใช้รับประทานแก้ร้อนในกระหายน้ำ
    -    ราก มีรสกร่อยและใช้รวมกับยาขับโลหิต ขับระดู

 





ดูรายละเอียด
ต้นไผ่
ดูรายละเอียด
ไผ่น้ำเต้า
ดูรายละเอียด
ต้น ไผ่น้ำเต้า
ดูรายละเอียด
ไผ่น้ำ
ดูรายละเอียด
ไผ่น้ำเต้า
ดูรายละเอียด
ไผ่น้ำเต้าส่ง 40 ปลีก 55

มะละกอ

มะละกอ
มะละกอมีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปอเมริกา จากนั้นจึงมีการนำไปปลูกยังแถบคาริบเบียน อินเดีย และอัฟริกา และเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อราว 500 ปีมาแล้ว ปัจจุบัน ประเทศผู้ส่งออกมะละกอที่สำคัญ ได้แก่ เม็กซิโก มาเลเซีย และสหรัฐอเมริกา
แม้ว่าโดยทั่วไปเราจะกินผลมะละกอดิบเป็นผัก และกินมะละกอสุกเป็นผลไม้ แต่สิ่งที่ทำให้มะละกอเป็นที่ต้องการในตลาดโลกไม่ใช่เนื้อผล แต่เป็นยางจากเปลือกผล (ดูผนังผล) มะละกอดิบ ซึ่งนำไปผ่านกรรมวิธีแล้วจะได้เป็น “ปาเปน (papain)” ใช้เป็นผงหมักเนื้อ
ลักษณะทั่วไป
มะละกอเป็นไม้ล้มลุก (บางครั้งอาจเข้าใจผิดว่าเป็นไม้ยืนต้น) ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว 5-9 แฉก เกาะกลุ่มอยู่ด้านบนสุดของลำต้น ภายในก้านใบและใบมียางเหนียวสีขาวอยู่ มะละกอบางต้นอาจมีดอกเพียงเพศเดียว แต่บางต้นอาจมีดอกได้ทั้งสองเพศก็ได้ ผลเป็นรูปรี อาจหนักได้ถึง 9 กิโลกรัม ผลดิบมีสีเขียว และมีน้ำยางสีขาวสะสมอยู่ที่เปลือก ส่วนผลสุก เนื้อในจะมีสีเหลืองถึงส้ม มีเมล็ดสีดำเล็ก ๆ อยู่ภายในกินไม่ได้
ประโยชน์
นอกจากการนำมะละกอไปรับประทานสด ๆ แล้ว เรายังสามารถนำไปปรุงอาหาร เช่น ส้มตำ แกงส้ม ฯลฯ หรือนำไปหมักเนื้อให้นุ่มได้อีกด้วย เพราะในมะละกอมีเอนไซม์ชนิดหนึ่งเรียกว่า พาเพน (Papain) ซึ่งสามารถนำเอนไซม์ชนิดนี้ไปใส่ในผงหมักเนื้อสำเร็จรูป บางครั้งนำไปทำเป็นยาช่วยย่อยสำหรับผู้ที่มีปัญหาอาหารไม่ย่อยก็ได้
สำหรับสารอาหารในมะละกอนั้น มีดังต่อไปนี้

เนื้อมะละกอสุก
สารอาหารปริมาณสารอาหารต่อมะละกอสุก 100 กรัม
โปรตีน0.5 กรัม
ไขมัน0.1 กรัม
แคลเซียม24 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส22 มิลลิกรัม
เหล็ก0.6 มิลลิกรัม
โซเดียม4 มิลลิกรัม
ไทอะมีน0.04 มิลลิกรัม
ไรโบฟลาวิน0.04 มิลลิกรัม
ไนอะซิน0.4 มิลลิกรัม
กรดแอสคอร์บิก (วิตามินซี)70 มิลลิกรัม

สรรพคุณของมะละกอ สรรพคุณของมะละกอมีมากมายนัก ใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาโรคได้
1. แก้อาการขัดเบา ใช้รากสด (1 กำมือ) 70-90 กรัม รากแห้ง 25-35 กรัม หั่นต้มกับน้ำ กรองดื่มเฉพาะน้ำ วันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ถ้วยชา(75 มิลลิลิตร) ดื่มก่อนอาหาร
2. เป็นยาระบายอ่อนๆ การกินเนื้อมะละกอสุก ช่วยเป็นยาระบายอ่อนๆ เพราะไปช่วยเพิ่มจำนวนกากไยอาหาร ดังนั้นเนื้อผลสุกมะละกอจะช่วยระบายอ่อนๆ แก้ท้องผูก
สรรพคุณ มะละกอ :
ผลสุก - เป็นมีสรรพคุณป้องกัน หรือแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน เป็นยาระบาย
ยางจากผลดิบ - เป็นยาช่วยย่อยโปรตีน ฆ่าพยาธิได้
รากมะละกอ - ขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา
ใช้เป็นยาระบาย :ใช้ผลสุกไม่จำกัดจำนวน รับประทานเป็นผลไม้
เป็นยาช่วยย่อย: 1. ใช้เนื้อมะละกอดิบไม่จำกัด ประกอบอาหาร เช่น ส้มตำ แกง เป้นผักจิ้ม 2. ยางจากผลดิบ หรือจากก้านใบ ใช้ 10-15 กรัม หรือถ้าเป็นตัวยาช่วยย่อย เพราะในยางมะละกอมีสารที่เรียกว่า Papain
เป็นยากัน หรือแก้โรคลักปิดลักเปิด โรคเลือดออกตามไรฟัน: ใช้มะละกอสุกรับประทานเป็นผลไม้ ให้วิตามินซีสูง
เท้าบวม: เอาใบมะละกอสดตำให้แหลกผสมกับเหล้าขาว ใช้พอกเท้าที่บวมลดอาการบวมลงได้
แก้เคล็ดขัดยอก: ใช้รากมะละกอสดตำให้แหลกผสมเหล้าโรงพอก
โดนหนามตำหรือหนามหักคาเนื้อใน: ให้บ่งปากแผลเปิดออก เอายางมะละกอดิบใส่หนามจะหลุดออก
คันเพราะพิษของหอยคัน: ให้ใช้ยางมะละกอดิบทาเช้า-เย็นจนหาย
เมื่อมีอาการปวดตามข้อและหลัง: รับประทานมะละกอสุกเป็นประจำป้องกันและบำบัดโรคปวดข้อปวดหลังได้ ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ไม่มีแรง ใช้รากมะละกอตัวผู้แช่เหล้าขาวให้ท่วมยาไว้ 7 วัน และกรองเอาน้ำใช้ทาแก้ปวดข้อและกล้ามเนื้อเปลี้ยอ่อนแรง ลดอาการปวดบวม ให้เอาใบมะละกอสดย่างไฟหรือลวกกับน้ำร้อนแล้วประคบบริเวณที่ปวด หรือตำพอหยาบห่อด้วยผ้าขาวบางทำเป็นลูกประคบ
ถ้าโดนตะปูตำเป็นแผล: ให้เอาผิวลูกมะละกอดิบตำพอกแผล เปลี่ยนยาวันละ 2 ครั้ง แผลน้ำร้อนลวก ใช้เนื้อมะละกอดิบต้มให้สุกจนเปือย ตำพอกที่แผล แผลพุพอง ใช้ใบมะละกอแห้งกรอบบดเป็นผง ผสมกับน้ำกะทิพอเหนียวข้น ใช้พอกหรือทาที่แผลวันละ 2-3 ครั้ง
แก้ผดผืนคัน: ใช้ใบมะละกอ 1 ใบ น้ำมะนาว 2 ผล เกลือ 1 ช้อนชา ตำรวมกันให้ละเอียดเอาทั้งน้ำและเนื้อทาแผลบ่อยๆ กลาก เกลื้อน ฮ่องกงฟุตหรือเท้าเปือย ใช้ยางของลูกมะละกอดิบทาวันละ 3 ครั้งฆ่าเชื้อราได้




เกษตรเรื่องการตอนกิ่งมะละกอ
การเกษตรเรื่องพันธุ์มะละกอ
มะละกอมีมากมายหลายพันธุ์
แต่มะละกอเป็นพืชที่มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม จึงมีอยู่ไม่กี่พันธุ์ที่เหมาะกับสภาพดินฟ้าอากาศของบ้านเรา พันธุ์มะละกอที่นิยมปลูกในบ้านเรามีด้วยกันทั้งหมด 4 สายพันธุ์ คือ
1. พันธุ์โกโก้ มีทั้งก้านใบสีน้ำตาลเข้มหรือสีม่วงเข้มหรือสีเขียวอ่อน พวกที่ก้านสีเขียวอ่อนหรือสีเขียวจะสังเกตเห็นจุดประสีม่วงตามบริเวณลำต้นได้ชัดเจน โดยเฉพาะในขณะต้นอายุไม่มาก พันธุ์โกโก้ เป็นพันธุ์ที่ออกดอกติดผลเร็ว ต้นเตี้ย อวบแข็งแรง มีขนาดผลขนาดเล็กถึงปานกลางผลค่อนข้างยาวผิวเกลี้ยงเป็นมันปลายผลใหญ่ หัวผลเรียว เนื้อแน่นและหนาสีแดงหรือสีชมพูเข้มรสหวานอร่อย

พันธุ์แขกดำ
พันธุ์แขกดำ
2. พันธุ์แขกดำ เป็นพันธุ์ที่ลำต้นอวบแข็งแรง ต้นเตี้ยให้ดอกติดผลเร็ว ก้านใบสีเขียวอ่อน รูปทรงของผลยาวรีสีผลออกสีเขียวแก่หรือสีเขียวเข้ม มีเนื้อหนาแน่น เมล็ดน้อย ผลสุกเนื้อสีแดงเข้มมีรสหวาน
3. พันธุ์สายน้ำผึ้ง ลักษณะต้นเตี้ย ก้านใบยาวกว่าพันธุ์แขกดำ ผลค่อนข้างโตทรงผลป้าน คือด้านขั้วผลเล็กและขยายออกด้านท้ายผล เปลือกผลสีเขียว เมื่อสุกเนื้อออกสีแดงปนส้ม เนื้อหนาเนื้อแน่น มีเมล็ดมากรสหวาน
4. พันธุ์จำปาดะ เป็นพันธุ์ที่มีลำต้นอวบแข็งแรง ออกดอกติดผลช้ากว่าพันธุ์โกโก้และพันธุ์แขกดำ ใบและก้านใบออกสีเขียวอ่อน ผลมีขนาดยาว ผลดิบมีสีเขียวอ่อนผลสุกเป็นสีเหลือง เนื้อค่อนข้างบางกว่าพันธุ์อื่นและเนื้อไม่ค่อยแน่น

มะละกอ
มะละกอ

ความรู้การเกษตรเรื่องมะละกอ

ตุลาคม 12th, 2009
การเกษตรว่าด้วยเรื่องมะละกอ
มะละกอเป็นไม้ผลไม้ที่รับประทานได้ทั้งผลดิบ เช่น นำมาทำส้มตำ แกง หรือกินเล่นได้เลย ผลสุกสามารถปอกแล้วรับประทานได้เลย หรือนำไปทำเป็นน้ำผลไม้ มีรสชาติหวานหอมมีปริมาณวิตามินเอและแคลเซียมสูง ตลาดของมะละกอนอกจากจะบริโภคภายในประเทศแล้วยังสามารถส่งไปจำหน่ายตลาดต่างประเทศเป็นจำนวนมาก

เกษตรเรื่องมะละกอ
เกษตรเรื่องมะละกอ

ประโยชน์ของมะละกอมะละกอเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์ทางยามากมาย เช่น ใบมะละกอสดนำมาย่างไฟและนำมาประคบช่วยแก้อาการปวดบวมได้ ใบใช้ต้มกินเพื่อขับปัสสาวะ เมล็ดต้มกินเพื่อขับพยาธิ ขับประจำเดือน ส่วนยางมะละกอแก่พิษตะขาบกัดแมลงสัตว์กัดต่อย รวมไปถึงช่วยหมักเนื้อให้นุ่มได้อีกด้วย ส่วนผลสุก อุดมไปด้วยวิตามินเอ บี 1 บี 2 แคลเซียม และที่สำคัญคือ สารเบต้าแคโรทีน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยบำรุงและทำให้ผิวพรรณดียิ่งขึ้น รวมทั้งช่วยชะลอความแก่ และริ้วรอยก่อนวัยอันควร แถมยังช่วยบำรุงอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย แก้กระหายน้ำ บำรุงโลหิต บำรุงระบบประสาท บำรุงสายตา และที่สำคัญ มะละกอสุกนั้นช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดี แก้ท้องผูก ป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ด้วย

การเกษตรเรื่องมะละกอ
การเกษตรเรื่องมะละกอ

ลักษณะทั่วไปของมะละกอมะละกอเป็นไม้ผลล้มลุกขนาดกลาง โดยปกติจะมีความสูงระหว่าง 5 ถึง 20 ฟุต ลำต้นมีลักษณะอวบน้ำ มะละกอเป็นพืชเกษตรที่ปลูกปลูกง่ายโตเร็ว ให้ผลเร็ว ให้ผลได้ตลอดทั้งปี เหมาะสำหรับการทำการเกษตรเพื่อเป็นธุรกิจหรือปลูกเพื่อบริโภคโดยทั่วไปมะละกอเป็นพืชที่ไม่ค่อยมีแมลงรบกวน และทำการเกษตรได้ดีในดินทั่วไป แต่ต้องเป็นดินที่มีการระบายน้ำดี ไม่มีน้ำขัง เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีมีอินทรีย์วัตถุมากพอสมควร และมีหน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร ดอกจะออกเมื่อมีอายุ 130 ถึง 150 วัน(เพาะปลูกด้วยเมล็ด) สามารถให้ผลผลิต 3 ถึง 4 ปี ในกรณีที่ไม่มีโรคหรือแมลงมาทำลาย สามารถเก็บเกี่ยวผลดิบได้เมื่ออายุ 3 ถึง 4 เดือน และเก็บเกี่ยวผลสุกได้เมื่ออายุ 5 ถึง 6 เดือนหลังดอกมะละกอบาน ถ้าทำการเกษตร 1 ต้น จะสามารถให้ผลผลิต 25 ถึง 30 กิโลกรัม ต่อปี หรือ 2,966 กิโลกรัมต่อไร่ น้ำหนักผลประมาณ 0.7 ถึง 2.50 กก.


  • ปัจจุบันการปลูกมะละกอโดยการเพาะเมล็ดนั้นให้ผลผลิตทางการเกษตรน้อยทำให้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งขั้นตอนในการตอนกิ่งมะละกอมีดังนี้
  • เกษตรกรต้องทำการเลือกมะละกอต้นที่เป็นกระเทย โคนกิ่งต้องมีสีน้ำตาลหรือสีเขียวปนน้ำตาล จากนั้นให้เกษตรกรทำการปาดกิ่งมะละกอแล้วให้นำไม้มาขั้นไว้เพื่อไม่ให้แผลมะละกอติดกันจากนั้นให้นำตุ้มตอนที่ทำจากขุยมะพร้าวที่แช่น้ำยาเร่งรากแล้วนำมาหุ้มกิ่งมะละกอ หลังจากทำการตอนกิ่งมะละกอแล้วเกษตรกรควรหมั่นดูแลอย่าให้ตุ้มตอนแห้งต้องหมั่นรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ หลังจากนั้นประมาณ 1 เดือน กิ่งตอนจะออกรากให้เกษตรกรทำการนำไปปักชำ หลังจากนั้นประมาณ 2 สัปดาห์จึงน้ำต้นกล้ามะละกอลงปลูกในแปลงที่เตรียมไว้ได้ ข้อดีของการตอนกิ่งมะละกอคือ จะให้ผลผลิตทางการเกษตรเร็ว จะออกผลเมื่อมีอายุประมาณ 2 เดือน ต้นมะละกอที่ได้จะเตี้ย ผลดก สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้นานถึง 3 ปี และจะไม่มีการกลายพันธุ์ สามารถตอนได้ทุกสายพันธุ์